วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

ตอนที่ 4.เตียวก๊ก เเละ จุดเริ่มต้นของโจรโพกผ้าเหลือง

ณ เมืองกิลกกุ๋น ทางทิศใต้ของเมืองหลวง มีชายคนหนึ่งนามว่า "เตียวก๊ก" เป็นหมอ ยาเเผนโบราณ ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือราษฎร จึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน



อยู่มาวันหนึ่ง เตียวก๊ก ขึ้นไปหาตัวยาบนภูเขา พบคนแก่คนหนึ่งผิวหน้านั้นเหมือนทารก จักษุนั้นเหลือง มือถือไม้เท้า คนนั้นพาเตียวก๊กเข้าไปในถ้ำ จึงให้หนังสือตำรา 3 ฉบับชื่อไทแผงเยาสุด แล้วว่าตำรานี้ท่านเอาไปช่วยทำนุบำรุงคนทั้งปวงให้อยู่เย็นเป็นสุข ถ้าตัวคิดร้ายมิซื่อตรงต่อแผ่นดิน ภัยอันตรายจักถึงตัว เตียวก๊กกราบไหว้แล้วจึงถามว่าท่านนี้ชื่อใด คนแก่นั้นจึงบอกว่าเราเป็นเทพยดา บอกแล้วก็เป็นลมหายไป” 

เตียวก๊กกลับมาบ้านก็ลงมือศึกษาเล่าเรียนตำราทั้ง 3 เล่ม ปรากฏว่าเป็นตำราเรียกลม เรียกฝนเล่มหนึ่งเป็นตำราผูกพยนต์ หรือตำราปลุกเสกสิ่งของให้เป็นคน หรือเป็นสัตว์เล่มหนึ่ง และตำรารักษาโรคอีกเล่มหนึ่ง  

เตียวก๊กศึกษาตำราทั้งสามเล่มแล้วก็ได้ใช้วิชารักษาโรครักษาชาวบ้าน ซึ่งทั้งหมดเป็นคนยากไร้ ไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล ต่อมาโรคห่า ะบาดที่เมืองกิลกกุ๋น ชาวเมืองล้มตายลงเป็นอันมาก ชาวเมืองกิลกกุ๋นจึงพากันไปหาเตียวก๊กให้ช่วยรักษา เตียวก๊กได้เขียนยันต์ตามตำราของเทพยดาแจกให้ชาวเมือง โรคห่าก็หมดสิ้นไปชาวเมืองจึงพากันมาฝากตัวเป็นศิษย์เตียวก๊กมากขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นพวกขุนนาง ข้าราชการรีดนาทาเร้นราษฎรเพื่อเก็บส่วยส่งให้กับขันที และเพื่อความร่ำรวยของตนเอง จนบ้านเมืองอดอยากยากแค้น ทั้งข้าราชการ และพวกมาเฟียต่าง ๆ ได้ประพฤติตนเป็นโจรปล้นชิงวิ่งราวชาวบ้าน แพร่ขยายไปทุกตำบล ดังนั้นราษฎรจึงยิ่งหันเข้ามาพึ่งพาเตียวก๊กมากขึ้น 

บรรดาลูกศิษย์ของเตียวก๊กซึ่งได้รับการอบรมสั่งสอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้จัดตั้งกันขึ้นเป็นกลุ่มอาสาป้องกันตนเอง เป็นกองกำลังติดอาวุธของประชาชน ด้านหนึ่งป้องกันโจรผู้ร้ายที่มาเบียดเบียนปล้นชิงวิ่งราว อีกด้านหนึ่งเพื่อต่อสู้กับขุนนางและข้าราชการที่มากดขี่ข่มเหง ซึ่งสอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการของราษฎร ดังนั้นชาวเมืองจึงได้เข้าร่วมขบวนการอาสาป้องกันตนเองมากขึ้นทุกวัน จนขบวนการอาสาป้องกันตนเองเติบใหญ่ และขยายตัวไปยังเมืองต่าง ๆ อีก 7 เมือง รวมเป็น 8 เมือง คือเมือง กิลกกุ๋น, เฉงจิ๋ว, อิวจิ๋ว, ชิวจิ๋ว,   เกงจิ๋ว, ยังจิ๋ว, กุนจิ๋ว และ อิจิ๋ว ชาวเมืองทั้ง 8เมืองนี้นับถือศรัทธาเตียวก๊ก เขียนเอาชื่อเตียวก๊กไว้บูชาทุกบ้านเรือน

บรรดาเจ้าเมืองทั้ง 8 เมืองดังกล่าว เห็นว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการอาสาป้องกันตนเองนี้เป็นประโยชน์แก่ตัวอยู่บ้าง ตรงที่คอยกีดขวางลูกน้องขันทีที่มารีดส่วย จึงทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ บ้างก็กลัวภัยจะมาถึงตัวจึงทำเฉยปล่อยปละละเลยเหตุการณ์ไปตามสถานการณ์ ทำให้การเคลื่อนไหวของขบวนการอาสาป้องกันตนเองขยายตัวและเข้มแข็งขึ้นเมื่อขบวนการอาสาป้องกันตนเองเติบใหญ่เข้มแข็งขึ้นเช่นนี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบการบริหารเพื่อควบคุมกองกำลังอาสาป้องกันตนเอง ดังนั้นเตียวก๊กจึงแต่งตั้งให้ศิษย์ที่ไว้ใจเป็นหัวหน้าขบวนการสาขาเรียกว่า “นายบ้าน” ถึง 30 ตำบล ตำบลใหญ่มีกำลังติดอาวุธประมาณหมื่นเศษ ตำบลเล็กมีกำลังติดอาวุธ 6-7 พันคน จัดตั้งกำลังแบบกองทหาร มีธงสำหรับรบศึกทุกตำบลเมื่อมีผู้คนมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และจัดตั้งขบวนเป็นกองทัพฉะนี้แล้ว บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเตียวก๊กก็ยุยงส่งเสริมให้เตียวก๊กกอบกู้ฟื้นฟูชาติบ้านเมือง ให้ราษฎรได้ร่มเย็นเป็นสุข 

เตียวก๊กเมื่อถูกลูกศิษย์ยุยงหนักเข้าก็ตกลงใจเห็นด้วย จึงตั้งตนเองเป็นพระยา เปลี่ยนขบวนการอาสาป้องกันตนเองเป็นขบวนการกู้ชาติ แล้วสร้างข่าวลือทั้ง 8 เมืองว่า แผ่นดินจะผันแปรปรวนไปแล้ว จะมีผู้มีบุญมาครองแผ่นดินใหม่ บ้านเมืองจะเป็นสุข” แล้วให้เอาปูนขาวเขียนเป็นอักษรไว้ที่บ้านเรือน 2 คำว่า ปีชวดบ้านเมืองจะเป็นสุข” 


เมื่อเตรียมการดั่งนี้แล้วก็จำเป็นอยู่เองที่ต้องประสานงานในเมืองหลวงเพื่อทำการใหญ่สืบไป ดังนั้นเตียวก๊กจึงมอบหมายให้ลูกน้องชื่อ “ม้าอ้วนยี่” ไปติดสินบนฮองสี ขันที ซึ่งเป็นคนหนึ่งในสิบขันที ให้ทำการเป็นไส้ศึกในเมืองหลวง

เตียวก๊กนั้นมีน้องชายอยู่สองคนชื่อเตียวโป้และเตียวเหลียง ได้รับมอบหมายให้เป็นรองหัวหน้าขบวนการ ดังนั้นเมื่อจะทำการกอบกู้ฟื้นฟูชาติ เตียวก๊กจึงสอนน้องว่า “บัดนี้เราจะทำการใหญ่เพื่อการกอบกู้ฟื้นฟูชาติ ถ้าจะคิดอ่านการสิ่งใดจงเอาใจไพร่เป็นประมาณ


เตียวก๊กได้บอกน้องทั้งสองคนว่าบัดนี้การพร้อมแล้ว ควรจะคิดเอาแผ่นดิน มิฉะนั้นแล้วก็จะเสียการไป น้องทั้งสองคนก็เห็นด้วย จากนั้นจึงเตรียมกำลังรบพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้พร้อมเพื่อเตรียมเคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองหลวง      



ขอขอบคุณ 

บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/55--4-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น