วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 3.สิบขันที เเละ การคดโกง

พระเจ้าเลนเต้เองก็ถูกเลี้ยงโดยขันที ดังนั้นเมื่อครองราชย์แล้ว จึงทรงยกย่องขันทีคนหนึ่งชื่อ “เตียวเหยียง” เป็นบิดาบุญธรรม และเพราะเหตุที่ถูกเลี้ยงดูโดยขันที ดังนั้นจึงมีความใกล้ชิดสนิทสนมไว้เนื้อเชื่อใจขันทีเป็นพิเศษ มีความเคารพยำเกรงขันทีเป็นพิเศษ

ขันทีที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมในลักษณะเช่นนี้ มีอยู่สิบคน ซึ่งสามก๊กเรียกว่า “สิบขันที” คือเทาเจียด, เตียวต๋ง, เตียวเหยียง, ฮองสี, ต๋วนกุย,เหาลำ, เกียนสิด, เห้หุย, ก๊กเสง และเชียกง 

ในจำนวนขันทีสิบคนนี้ได้ยกย่องให้เทาเจียดเป็นหัวหน้า ในขณะที่เตียวเหยียงเป็นคนที่พระเจ้าเลนเต้เคารพและยำเกรงเป็นพิเศษในฐานะที่ทรงยกย่องเป็นบิดาบุญธรรม 

ความจริงชื่อของบุคคลในสามก๊กมีเป็นจำนวนมาก ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจดต้องจำ แต่การจะไม่กล่าวถึงชื่อขันทีทั้งสิบคนเห็นจะไม่ได้ เพราะเป็นตัวละครสำคัญที่เป็นต้นตอทำให้แผ่นดินเกิดจลาจลวุ่นวายแล้วแตกเป็นสามก๊ก ทั้งเป็นตัวละครที่ก่อปัญหาวุ่นวายถึงสองรัชกาลขันทีทั้งสิบคนได้ร่วมคิด ร่วมมือกันครอบงำอำนาจบริหารของพระเจ้าเลนเต้ อย่างสิ้นเชิง กิจการภายในราชสำนักทั้งปวงขึ้นอยู่กับความคิดความเห็นของขันทีทั้งสิบคน จึงเป็นเหตุให้เหล่าขุนนางทั้งปวง เกรงกลัวไม่กล้ากระทำการหรือเพ็ดทูลสิ่งใดให้เป็นที่ขัดใจของขันทีขุนนางคนใดแสดงอาการให้เห็นว่าไม่เป็นพวก ไม่เคารพ หรือไม่ยำเกรง ก็จะถูกสิบขันทีแกล้งเพ็จทูลให้พระเจ้าเลนเต้ถอดออกจากตำแหน่ง หรือโยกย้ายไปทำราชการในถิ่นทุรกันดาร หรืออาจถูกเพ็ดทูลให้ลงโทษประหารหนังสือราชการที่หัวเมืองต่าง ๆ รายงานเข้ามายังราชสำนักจะถูกกลั่นกรองโดยขันทีเสียชั้นหนึ่งก่อน หนังสือออกจากราชสำนักรวมถึงพระบรมราชโองการต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นจากความคิดความเห็นของขันที จัดทำโดยเหล่าขันที และจัดส่งไปยังหัวเมืองต่าง ๆ โดยคนของขันที เป็นหนทางให้ลูกน้องของขันทีได้ค่าน้ำร้อนน้ำชาอีกทางหนึ่ง

การแต่งตั้งเจ้าเมืองไปครองเมืองต่าง ๆ ขันทีก็จะเรียกเอาสินบนทุกเมืองไป คนใดไม่ยอมให้สินบนแก่ขันทีก็จะถูกกลั่นแกล้ง ในชั้นต้นอาจจะแกล้งไม่ให้ได้รับแต่งตั้ง หากขัดขวางในชั้นนี้ไม่ได้ ในภายหลังก็จะกลั่นแกล้งเพ็จทูลเอาเป็นโทษ ซึ่งอาจจะเป็นโทษปลดออกจากราชการ หรือโทษถึงลงพระราชอาญา หากข้อหาหนักก็ต้องถูกประหาร 
เจ้าเมืองคนใดยอมอยู่ในอำนาจ ขันทีก็จะจัดส่งคนไปเรียกเก็บส่วยทุกปี และจำนวนส่วยก็จะเพิ่มขึ้นทุกปีดุจกัน เจ้าเมืองบางคนในระยะแรกสามารถทนกับระบบส่วยได้ แต่นานไปทนแรงส่วยไม่ไหวก็ต้องลาออกเพราะขืนทนรับราชการต่อไปก็ต้องถูกปลด ถูกถอดหรือต้องโทษ 

ค่าภาษีต่าง ๆ ที่หัวเมืองจัดเก็บส่งเข้าเมืองหลวงตามปกติก็ถูกขันทีชักส่วนแบ่งตั้งแต่ร้อยละ 10 หนักเข้าก็ชักส่วนแบ่งถึงร้อยละ 50 ทำให้รายได้ของแผ่นดินไม่พอเพียงกับรายจ่าย เป็นเหตุให้พระเจ้าเลนเต้ต้องขึ้นภาษีเอากับราษฎรบ่อยครั้งจึงกล่าวได้ว่าราษฎรในยุคสมัยของพระเจ้าเลนเต้ถูกขูดรีดภาษีหนักที่สุด ด้านหนึ่งหนักเพราะการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเหล่าขันทีและขุนนางที่เป็นพวก ด้านหนึ่งหนักเพราะรายจ่ายเพิ่มมากขึ้นเพื่อบำรุงบำเรอความสุข และเพื่อจัดส่วนแบ่งให้แก่ขันทีและขุนนาง

เมื่อขุนนางข้าราชการทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองต้องจ่ายเงินค่าส่วยสินบน และมีความรั่วไหลเกิดขึ้นในงบประมาณแผ่นดินมากมายเช่นนี้ ราษฎรก็ถูกรีดนาทาเร้นหนักขึ้นทุกวัน ราษฎรกลายเป็นคนยากจนและยากไร้ ไม่มีที่ทำกิน และไม่มีกิน จนต้องปล้นชิงวิ่งราวกันทั่วทั้งแผ่นดินหนักเข้าข้าราชการทั้งในเมืองหลวงและในหัวเมืองต่างประพฤติตนเป็นโจร ปล้นชิงวิ่งราวเสียเองอย่างหนึ่ง เลี้ยงโจรให้ปล้นชิงวิ่งราวมาแบ่งกันอย่างหนึ่ง ค้าของหนีภาษี ค้าของเถื่อนอย่างหนึ่ง และเอาที่หลวง เอาประโยชน์ของหลวงไปทำมาหากิน ไปแสวงหาประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง

คดีความทั้งปวงก็ตัดสินไปตามน้ำหนักของเงินสินบน ขาวถูกกลับเป็นดำ ดำถูกกลับเป็นขาว ความเดือดร้อนจลาจลจึงเกิดขึ้นทั้งแผ่นดิน โดยที่ไม่มีใครกล้าพูด กล้ากราบทูล 


ขอขอบคุณ 

บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/53--3-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12

ตอนที่ 2.พระเจ้าเลนเต้ เเละ ลางบอกจะเกิดกลียุค

ฮ่องเต้องค์ที่สามก่อนสิ้นราชวงศ์ฮั่นทรงพระนามว่า “ฮั่นเต้” คงจะเป็นหมัน จึงไม่มีพระราชบุตรสืบสันตติวงศ์ แต่แทนที่จะยกเอาเชื้อพระวงศ์ผู้มีสติปัญญาคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นมหาอุปราช เพื่อเตรียมสืบราชวงศ์ต่อไป กลับไปขอลูกชาวบ้านมาเลี้ยง ตั้งเป็นพระราชบุตร แล้วโปรดให้ขันทีเลี้ยงดูมาแต่น้อย ต่อมาทรงสถาปนาเป็นที่รัชทายาท

ดังนั้นเลนเต้จึงไม่ใช่เชื้อพระราชวงศ์ฮั่น เป็นลูกกาฝาก หากจะกล่าวถึงที่สุดแล้วก็ย่อมกล่าวได้ว่าราชวงศ์ฮั่นได้หมดสิ้นไปตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้าฮั่นเต้แล้ว ราชบัลลังก์หลังจากนั้นตกได้แก่คนแซ่อื่น

เลนเต้ลูกชาวบ้าน เมื่อได้ดิบได้ดีเป็นรัชทายาทก็ถือตัวว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นไปด้วย ครั้นได้เสวยราชย์ทรงพระนามว่า “พระเจ้าเลนเต้” 

แต่สันดานชาติเชื้อที่มิใช่เผ่าวงศ์กษัตริย์ และอัธยาศัยที่ถูกสร้างสม มาจากการเลี้ยงดูของขันทียังคงติดตัวมาจึงกำเริบขึ้น สามก๊กได้กล่าวความประพฤติของพระเจ้าเลนเต้ว่า มิได้ตั้งอยู่ในโบราณราชประเพณี แลมิได้คบหาคนสัตย์ธรรม เชื่อถือแต่คนอันเป็นอาสัตย์ ประพฤติแต่ตามอำเภอใจแห่งพระองค์ เสียราชประเพณีไป

เมื่อเลนเต้เสวยราชย์แล้ว ได้อาศัยขุนนางผู้ใหญ่สองคนคอยค้ำจุนราชบัลลังก์ คนหนึ่งชื่อเตาบูเป็นแม่ทัพใหญ่ อีกคนหนึ่งชื่อตันผวนเป็นราชครู สองขุนนางเฒ่ารับราชการในราชวงศ์ฮั่นมาถึงสองแผ่นดิน เห็นความวิปริตผันแปรในบ้านเมืองที่ทำให้ขุนนางข้าราชการแลราษฎรต้องเดือดร้อนหนักว่า เกิดจากขันทีเป็นเหตุ จึงวางแผนร่วมกันเพื่อจะสังหารกลุ่มขันทีชั่วเสีย แต่แผนการรั่วไหลเสียก่อน ดังนั้นทั้งแม่ทัพใหญ่เตาบูและราชครูตันผวนพร้อมด้วยครอบครัวและบริวารจึงกลับเป็นฝ่ายถูกกลุ่มขันทีชั่วสังหารอย่างโหดร้ายและทารุณ

แต่นั้นมากลุ่มขันทียิ่งกำเริบเสิบสานมากขึ้น เหล่าขุนนางข้าราชการมีความเกรงกลัวอิทธิพลของกลุ่มขันทีชั่วเป็นอันมาก

            ครั้นพระเจ้าเลนเต้เสวยราชย์ได้สิบสองปี ตรงกับพุทธศักราช 722 เดือนสี่ขึ้นสิบห้าค่ำ แต่สามก๊กฉบับสมบูรณ์ระบุว่าเป็นปี พุทธศักราช 710 พระเจ้าเลนเต้ประทับ ณ  พระที่นั่งอุ่นต๊กเตี้ยน เวลาเที่ยงเกิดอาเพศใหญ่ขึ้นในบ้านเมือง เป็นสัญญาณจากสวรรค์ที่บ่งบอกว่า แผ่นดินเกิดกลียุค

ณ เวลานั้นเพลาเที่ยงเกิดลมพายุหนัก มีงูสีเขียวตัวใหญ่ตกลงมาพันอยู่ที่เท้าพระเก้าอี้ พระเจ้าเลนเต้ตกพระทัย กระทั่งสิ้นพระสติ พักหนึ่งงูใหญ่ก็หายไปแล้วเกิดฟ้าร้องฝนตกห่าใหญ่ ลูกเห็บขนาดใหญ่ตกบ้านเรือนราษฎรพังทะลาย พระตำหนักถูกพายุลูกเห็บพัดพังหลายตำหนัก จนถึงเที่ยงคืนฝนจึงหยุด หลังจากนั้นอีก 4 ปี ณ เดือนยี่ เมืองลกเอี๋ยงซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหว น้ำทะเลเกิดคลื่นใหญ่ท่วมบ้านเมือง และบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำพัดพาหายไปเป็นจำนวนมาก

ถัดมาในเดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่งเกิดควันเพลิงพุ่งขึ้นไปสูง 20 วา แล้วพุ่งเข้าไปในพระที่นั่งอุ่นต๊กเตี้ยน รุ่งเดือน 7 เกิดรัศมีรุ้งตกในพระบรมมหาราชวัง ภูเขารันซัวแตกทลายลง

นิมิตและลางลักษณะนี้ถือว่า เป็นนิมิตและลางร้ายที่จะเกิดกลียุคขึ้นในบ้านเมืองนับเป็นอาเพศที่มีผลกระทบต่อบ้านเมือง กระทบต่อผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองและราษฎรเป็นส่วนรวม

นิมิตและลางจากสวรรค์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ก่อให้เกิดความประหวั่นพรั่นพรึงในหมู่อาณาประชาราษฎร พระเจ้าเลนเต้เองก็ทรงสังเกตเห็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ จึงทรงตรัสถามขึ้นในที่ประชุมเหล่าขุนนางว่า “นิมิตวิปริตดั่งนี้จะดีร้ายประการใด” ปรากฏว่าไม่มีใครยอมตอบว่า  “นิมิตวิปริต” นั้น ว่าจะดีร้ายและหมายความว่าประการใด เหล่าขุนนางต่างนิ่งเงียบเป็นเป่าสาก และอาการนิ่งเงียบเป็นเป่าสากของเหล่าขุนนางนี้ควรจะต้องถือว่าเป็น “นิมิตวิปริต” ที่เกิดขึ้นในราชสำนัก เช่นเดียวกับ “นิมิตวิปริต” ที่เกิดขึ้นแต่ธรรมชาติ เพราะเหล่าขุนนางทั้งปวงนั้นย่อมมีวิสัยที่ชอบเพ็ดทูล และมักจะแข่งแย่งกันเพ็ดทูลเพื่อหาความดีความชอบ และเพื่อแสดงภูมิรู้แห่งตนให้เป็นที่ประจักษ์ 

หลังพระเจ้าเลนเต้เสด็จขึ้นแล้ว ก็มีขุนนางชื่อ “ยีหลง” ทำหนังสือลับกราบทูลพระเจ้าเลนเต้ว่า “เหตุทั้งปวงนี้เพราะขันทีประพฤติล่วงพระราชอาญา จึงเกิด   นิมิตให้พระองค์ปรากฎ” การที่ยีหลงต้องทำเป็นหนังสือลับ ประกอบกับอาการเงียบเป็นเป่าสากของเหล่าขุนนางนั้น เป็นอาการที่บ่งบอกว่าคนรอบข้างของพระเจ้าเลนเต้ ซึ่งก็คือขันทีประพฤติล่วงพระราชอาญา “คิดกันกระทำการหยาบช้าต่าง ๆ” และควบคุมราชสำนักไว้ได้โดยสิ้นเชิง และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในเหล่าขุนนาง

พระเจ้าเลนเต้เห็นหนังสือลับของยีหลงแล้ว ก็ทอดพระทัย มิได้ตรัสประการใด แต่ขันทีทราบความเข้าก็ผูกอาฆาตยีหลง เพราะเห็นว่าเป็นการกราบทูลที่จะทำให้พวกตนเสียหาย และแสร้งเพ็ดทูลเสียใหม่ว่านิมิตทั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากฉลองพระองค์เก่า เพราะทรงมานาน ดังนั้นเพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศและราษฎรจึงต้องเปลี่ยนฉลองพระองค์ใหม่ พระเจ้าเลนเต้ก็กระทำตามคำแนะนำนั้นหลังเหตุการณ์นี้แล้วสิบขันทีได้กราบทูลยุยงฮ่องเต้ให้ปลดยีหลงออกจากราชการไปทำไร่ไถนา ณ ภูมิลำเนาเดิม

ขอขอบคุณ 

บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/52--2-.html
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/53--3-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12


ตันเซ็ก ผู้ไม่ยอมขงเบ้ง

ประวัติ และ ลักษณะนิสัย

ตันเซ็ก (อังกฤษ: Chen Shi) เป็นขุนพลคนหนึ่งของเล่าปี่ มีความสนิทสนมกับอุยเอี๋ยนเป็นอย่างมาก เป็นอาลักษณ์ในพระเจ้าเล่าเสี้ยนและเป็นพ่อของตันซิ่วผู้เขียนสามก๊กจี่(ซานกว๋อจื้อ)หรือจดหมายเหตุสามก๊ก 

บทบาทสำคัญ

ศึกเขาเตงกุนสัน

ตันเซ็กเป็นททารในสังกัดของฮองตงในศึกที่รบกับแฮหัวเอี๋ยนที่เขาเตงกุนสัน ตันเซ็กออกรบถูกแฮหัวซงหลานของแฮหัวเอี๋ยนจับได้ ต่อมาฮองตงออกรบจับตัวแฮหัวซงได้ แฮหัวเอี๋ยนได้เจรจาขอแลกตัวเชลยโดยให้ฮองตงนำแฮหัวซงมาแลกกับตันเซ็ก ตันเซ็กได้กลับเข้ากองทัพของตน ส่วนแฮหัวซงถูกฮองตงยิงเกาทัณฑ์เสียชีวิต 

ศึกบุกขึ้นเหนือครั้งที่ 4

เมื่อขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กครั้งที่ 4 ขงเบ้งสั่งให้จัดแจงกองทัพเป็นสามกอง ให้อุยเอี๋ยน เตียวหงี เตาเขง และตันเซ็ก คุมทหารกองหนึ่งยกไปตามเส้นทางสายตำบลกิก๊ก ให้ม้าต้าย อองเป๋ง เตียวเอ๊กและม้าตง คุมทหารอีกกองหนึ่งยกไปตามเส้นทางสายตำบลจำก๊ก กำหนดให้ไปถึงปากทางที่จะออกตำบลเขากิสานพร้อมกัน ตัวขงเบ้งคุมกองทัพหลวงจะยกหนุนตามไป 

อุยเอี๋ยน เตียวหงี เตาเขงและตันเซ็ก ครั้นยกทหารมาใกล้ปากทางกิก๊ก พลันหน่วยลาดตระเวนได้ขี่ม้าเข้ามารายงานว่า ขงเบ้งได้ใช้ให้เตงจี๋มาหาท่าน ทั้งสี่นายทหารได้ฟังรายงานดังนั้นก็หยุดม้า พอเตงจี๋มาถึงต่างคนต่างคำนับกันตามธรรมเนียมแล้ว อุยเอี๋ยนจึงถามว่าท่านรีบรุดเดินทางตามมานี้มีธุระสิ่งใดหรือ เตงจี๋จึงว่า มหาอุปราชสั่งให้ข้าพเจ้ารีบตามมาแจ้งแก่ท่านว่า ซึ่งท่านยกกองทัพมาทางกิก๊กนี้ให้เร่งระมัดระวังตัว ด้วยกริ่งว่าสุมาอี้จะซุ่มทหารไว้ที่ปากทางกิก๊ก จะได้ไม่เสียทีแก่ข้าศึก การจะเคลื่อนทัพรุดไปข้างหน้าพึงให้ทหารออกไปสอดแนมลาดตระเวนระยะไกล แล้วค่อย ๆ เคลื่อนทัพไป อย่าได้ประมาทแก่ความคิดสุมาอี้เป็นอันขาด 

อุยเอี๋ยนได้ฟังดังนั้นก็หัวเราะ และกล่าวว่ามหาอุปราชไว้ใจสั่งให้เราคุมกองทัพมาแล้ว ไฉนจึงกลับไม่ไว้ใจ ใช้ให้ท่านมากำชับเราอีกเล่า เราเป็นนายทหารคุมกองทัพอยู่แนวหน้า จะทำการสิ่งใดหากต้องคอยฟังมหาอุปราชซึ่งอยู่หลังห่างไกลแล้ว จะไม่เสียทีแก่ข้าศึกดอกหรือ 

ตันเซ็กได้ยินอุยเอี๋ยนกล่าวดังนั้นก็หัวเราะบ้าง แล้วกล่าวว่ามหาอุปราชนี้ดีแต่ระแวง และเพราะระแวงดังนี้จึงเสียทีเสียเกเต๋งแก่สุมาอี้จนกองทัพต้องพ่ายแพ้ยับเยิน

เตงจี๋ได้ฟังคำสองนายทหารดังนั้นจึงท้วงว่า ไฉนท่านทั้งสองจึงดูแคลนสติปัญญาของมหาอุปราชเล่า อันมหาอุปราชนี้มีสติปัญญาเป็นอันมาก คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่เคยผิดพลั้ง 

อุยเอี๋ยนจึงว่า ตัวท่านนำความมาบอกแก่เรา เสร็จสิ้นธุระแล้วจงรีบกลับไปเถิด การทางนี้เรารับผิดชอบจัดการเอง เตงจี๋เห็นดังนั้นจึงรีบขี่ม้ากลับไปหาขงเบ้ง 

ครั้นเตงจี๋ไปแล้วตันเซ็กจึงกล่าวกับอุยเอี๋ยนว่า มหาอุปราชไม่ไว้ใจเราทั้งสี่จึงใช้ให้เตงจี๋มากำชับดังนี้ ข้าพเจ้าจะขอเอาทหารพันหนึ่งเป็นกองหน้า ยกออกปากทางกิก๊กแล้วไปตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลเขากิสานเสียก่อนที่กองทัพมหาอุปราชจะยกไปถึง จะทำให้มหาอุปราชได้อายในครั้งนี้ให้จงได้ 

อุยเอี๋ยนได้ฟังดังนั้นก็เห็นด้วย จึงให้ตันเซ็กเป็นกองหน้าคุมทหารพันหนึ่งรีบยกไปทางปากทางกิก๊ก อีกพักหนึ่งอุยเอี๋ยนและอีกสองนายทหารก็คุมทหารเป็นกองหนุนตามไป สามก๊กฉบับภาษาจีนระบุความแตกต่างกันว่า อุยเอี๋ยนให้ตันเซ็กคุมทหารห้าพันเป็นกองหน้ายกไปทางปากทางกิก๊ก 

ตันเซ็กคุมทหารยกพ้นออกจากปากทางกิก๊ก เห็นเป็นทุ่งราบมีแนวป่ารกชัฏอยู่ทั้งสองด้าน ไม่เห็นทหารวุยก๊กตั้งสกัดอยู่แต่ประการใดก็หัวเราะเยาะ พลางกล่าวกับทหารคนสนิทว่ามหาอุปราชเห็นเรายกทหารไปตั้งอยู่ที่ตำบลกิสานแล้วเห็นจะได้ความอัปยศเป็นมั่นคง 

ตันเซ็กกล่าวสิ้นคำลงเสียงประทัดใหญ่ก็ดังสนั่นขึ้นจากในป่า ทหารของสุมาอี้ได้โห่ร้องยกออกมาจากแนวป่าทั้งสองข้างเข้าล้อมกองทหารของตันเซ็กไว้อย่างรวดเร็ว ตันเซ็กเห็นดังนั้นก็ตกใจ สั่งทหารให้ตีฝ่ากลับมาทางด้านหลัง ทหารของทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันเป็นสามารถ ต่างบาดเจ็บล้มตายลงเป็นอันมาก 

ในขณะนั้นอุยเอี๋ยนยกกองทัพหนุนมาถึง เห็นทหารสุมาอี้ล้อมกองทหารของ ตันเซ็กอยู่ จึงสั่งทหารให้จู่โจมเข้าไปช่วยแก้เอาตันเซ็กออกมาได้ แล้วพากันถอยกลับเข้ามาในช่องเขา สุมาอี้เห็นดังนั้นก็สั่งทหารไม่ให้ติดตามไป ด้วยเกรงว่าขงเบ้งจะทำกลอุบายซุ่มทหารไว้ในซอกเขา และสั่งทหารให้ถอยกลับไปค่าย สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ระบุว่าในการยุทธ์ครั้งนี้ตันเซ็กเสียทหารสี่ร้อยคน เหลืออยู่เพียงหกร้อยคน ในขณะที่ฉบับภาษาจีนระบุว่า ทหารของตันเซ็กถูกฆ่าตายถึงสี่พันคน เหลืออยู่เพียงหนึ่งพันคนเท่านั้น 

ถึงแก่ความตาย

เมื่อกลับถึงค่าย ขงเบ้งได้พิจาณาโทษให้ตันเซ็กถูกประหาร ส่วนอุยเอี๋ยนยีงไว้ชีวิตเพราะเห็นว่ายังมีประโยชน์อยู่ถือเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู



ขอขอบคุณ 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%87%E0%B8%81
บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/2024--545-.html
lhttp://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/2025--546-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12


วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 1.จิ๋นซีฮ่องเต้ เล่าปัง เเละ ราชวงศ์ฮั่น

ก่อนจะเกิดยุคสามก๊ก แผ่นดินจีนได้เกิดกลียุครบราฆ่าฟันกันจนแตกออกเป็น 7 เเคว้น ทั้ง 7 เเคว้นนี้บางครั้งก็ผูกมิตรกัน บางครั้งก็ทำสงครามกัน สงครามและสันติภาพเกิดขึ้นสลับกันไป ประวัติศาสตร์จีนได้เรียกขานยุคนี้ว่าเป็นยุค “เลียดก๊ก”

จนถึงสมัยหนึ่งแคว้นจิ๋นมีเจ้าผู้ปกครองชื่อว่า “จิ๋นอ๋อง” ได้รวบรวมหัวเมืองทั้ง 7 เข้าเป็นแผ่นดินเดียวกัน สถาปนาราชวงศ์จิ๋นขึ้น ปกครองแผ่นดินแต่นั้นมา ชื่อประเทศที่ถูกรวมเข้าเป็นหนึ่ง จึงถูกเรียกตามชื่อของแคว้นจิ๋นว่า “ประเทศจีน” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

จิ๋นอ๋อง เป็นผู้ใฝ่อำนาจ เห็นว่าคำว่า อ๋อง ยังเป็นคำต่ำเสมอเจ้าเมืองธรรมดา ไม่สมกับความชอบของพระองค์ที่สามารถรวบรวมแคว้นทั้งปวงเข้าเป็นแผ่นดินเดียวกันได้ จึงให้ขุนนางทั้งปวงคิดสรรหาสมญานามให้สมกับความชอบของพระองค์ บรรดาขุนนางจึงได้คิดค้นสมญานามสำหรับจิ๋นอ๋องว่า“ฮ่องเต้” ซึ่งหมายถึงความเป็นใหญ่ใน 5 ทวีป หรือความยิ่งใหญ่เหนือแผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ความดี และความชั่ว ซึ่งสมญานามนี้เป็นที่ต้องพระทัยยิ่งนัก ดังนั้นจิ๋นอ๋องจึงได้สถาปนาพระนามาภิไธยของพระองค์ว่า “จิ๋นซีฮ่องเต้”

ความใฝ่ในอำนาจ ในตัวของจิ๋นซีฮ่องเต้ ประกอบกับเป็นคนรู้จักใช้คน ดังนั้นคนดีมีฝีมือในแผ่นดินจำนวนมากจึงอาสาเข้ามารับใช้ชาติ แผ่นดินจีนยุคนั้นจึงยิ่งใหญ่เกรียงไกร แต่กระนั้นความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่ก็ไม่สามารถยับยั้งความแก่เอาไว้ได้ เมื่ออายุล่วงวัยมากเข้า จิ๋นซีฮ่องเต้ก็เกิดความคิดกลัวตาย แต่ไม่อยากตาย ดังนั้นจึงได้พยายามแสวงหายาอายุวัฒนะ  เมื่อความอยากเกิดขึ้น ความโง่ก็ได้เข้าครอบงำ พวกแพทย์หลวงและแพทย์บ้านตลอดจนนักพรต ต่างได้อาสาทำยาอายุวัฒนะ แต่ในที่สุดก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ความแก่ยังคงเข้าครอบงำจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้พระองค์รู้สึกว่าวันเวลาแห่งความตายได้เยื้องกรายเข้ามาเยือนพระองค์ใกล้เข้ามาทุกที ในที่สุดทรงตั้งรางวัลเป็นจำนวนมหาศาลให้แก่ใครก็ตามที่สามารถแสวงหายาอายุวัฒนะมาถวายได้

มีพวกหมอกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ขืนอยู่ไปก็อาจเสี่ยงภัยต่อการถูกประหาร จึงอาสาเดินทางทางเรือไปทางด้านตะวันออก เพื่อแสวงหายาอายุวัฒนะ หลังจากเดินทางไปแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย กล่าวกันว่าคณะเดินทางแสวงหายาอายุวัฒนะกลุ่มนี้คือกลุ่มบรรพบุรุษกลุ่มแรกของชนชาติญี่ปุ่น

เหตุที่ไม่ยอมรับว่าความตายจะมาถึง จิ๋นซีฮ่องเต้จึงไม่ได้เตรียมการใด ๆ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์หลังการตายของพระองค์ ดังนั้นเมื่อความตายมาถึงกลียุคจึงเกิดขึ้นในบ้านเมือง

หลี่ซือขุนนางผู้มีความชอบต่อแผ่นดินและดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีถูกขันทีใช้อำนาจของยุวกษัตริย์ประหารอย่างโหดร้าย นอกจากนั้นขุนนางผู้ภักดีต่อแผ่นดินก็ถูกบีบคั้นและสังหารอย่างโหดร้ายทารุณ ในที่สุดยุวกษัตริย์ผู้เป็นรัชทายาทของจิ๋นซีฮ่องเต้ก็ถูกขันทีสังหาร หลังจากสังหารยุวกษัตริย์แล้ว ขันทีก็ตั้งตนเป็นใหญ่ ใช้อำนาจหยาบช้าต่ออาณาประชาราษฎร จนบ้านเมืองเกิดจลาจลขึ้น 

ขุนศึกต่าง ๆ ได้ยกกองทัพเข้าเมืองหลวง ด้านหนึ่งอ้างว่าเพื่อฟื้นฟูพระราชวงศ์ ชูธงแห่งความจงรักภักดีขึ้นเป็นที่รวมใจของขุนนางและอาณาประชาราษฎร ในขณะที่อีกด้านหนึ่งมีวาระซ่อนเร้นอยู่ในใจที่จะยึดอำนาจแผ่นดินเสียเอง

การรบราฆ่าฟันเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การจลาจลขยายตัวลุกลามไปทั้งแผ่นดิน กลายเป็นสงครามกลางเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง


มีผู้ตั้งตนเป็นผู้กู้ชาติหลายกลุ่ม หลายเหล่า แต่หลังจากสงครามผ่านไปนานวันเข้า บางกลุ่มก็สูญสลายไป บางกลุ่มก็ไปร่วมกับอีกกลุ่มหนึ่ง ในที่สุดเหลืออยู่เพียงสองกลุ่ม 

กลุ่มแรกนำโดยฌ้อปาอ๋อง กลุ่มที่สองนำโดยเล่าปัง หรือที่เรียกว่าฮั่นอ๋อง ทั้งสองกลุ่มนี้ทำสงครามแย่งชิงเมืองหลวงกันเป็นเวลายาวนาน เปิดสงครามต่อกันถึง 7 ครั้ง และทั้ง 7 ครั้งนี้ฮั่นอ๋องหรือเล่าปังเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่เนื่องด้วยเล่าปังเป็นคนมีความเพียรพยายาม มีจิตใจต่อสู้และทรหดอดทน ทั้งพยายามแสวงหาคนดีมีฝีมือมาร่วมงาน ในที่สุดเล่าปังก็ได้ขุนนางสองคนมาทำการด้วย นั่นคือ ฮั่นสิน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจัดจ้านทางการทหาร และ เตียวเหลียง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจัดจ้านทางพิชัยสงครามและการปกครอง ในสงครามครั้งสุดท้าย ฮั่นอ๋องเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ โดยฌ้อปาอ๋องแตกทัพไปติดอยู่ริมน้ำ และฆ่าตัวตายในที่สุด

ก่อนพ่ายแพ้ฌ้อปาอ๋องได้เผาเมืองหลวงที่ใหญ่โตอัครฐานจนหมดสิ้น กล่าวกันว่าเพลิงไหม้พระบรมมหาราชวังติดต่อกันเป็นเวลาถึง 7 วัน 7 คืน

ฮั่นอ๋องหรือเล่าปังได้รับชัยชนะแล้ว จึงได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้น เหล่าขุนนางได้ถวายพระสมัญญาแก่พระองค์ท่านว่า “พระเจ้าฮั่นโกโจ” จัดเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น

สงครามและสันติภาพเกิดขึ้นสลับกันไปเช่นนี้ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) จึงกล่าวไว้ในสามก๊กด้วยโวหารว่า  เดิมแผ่นดินเมืองจีนทั้งปวงนั้นเป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข

พระเจ้าฮั่นโกโจและพระราชวงศ์ได้ครองราชย์สมบัติต่อ ๆ มา ถึง 12 องค์ ขุนนางชื่อ “อองมัง” จึงชิงราชสมบัติตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าครองแผ่นดินอยู่ถึง 18 ปี ก็มีเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าฮั่นโกโจชื่อ “ฮั่นกองบู๊” ชิงราชสมบัติกลับคืนได้ เสวยราชย์สืบเชื้อพระวงศ์ต่อมาอีก12 องค์ จึงเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น




ขอขอบคุณ 

บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/52--2-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12




วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

กันหยง ผู้พาเล่าปี่หนีอ้วนเสี้ยว


ช่วงอายุ : ???-???

กันหยง (อังกฤษ: Jian Yong) เกิดที่เมือง Juo เสนาธิการของเล่าปี่ รับใช้เล่าปี่ตั้งแต่เริ่มตั้งตัว กันหยงเป็นคนที่มีลักษณะไม่เหมือนใครเเละเป็นคนเฉลียวฉลาด 

กันหยงเป็นคนบริหารรายได้ของกองทัพเล่าปี่ในช่วงเเรกทำให้กองทัพเล่าปี่ยังอยู่ได้ เเละได้รับตำเเหน่งเป็นทูตเเละที่ปรึกษา ในขณะที่ เล่าปี่อยู่กับอ้วนเสี้ยว เพราะโจโฉตีเมืองชีจิ๋วของเล่าปี่แตก กันหยงผู้นี้เป็นคนแนะนำวิธีหลีกหนีจากอ้วนเสี้ยว โดยอ้างว่าจะไปเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวให้สวามิภักดิ์ต่ออ้วนเสี้ยว 

หลังจากเล่าปี่ได้ครองเสฉวน ได้รับตำเเหน่ง "general of great virtue" 


ขอขอบคุณ

รูปภาพเเละข้อมูลจากเกมส์ Romance of the three kingdom 12

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

โฮหงี


ช่วงอายุ : ???-194


โฮหงี (อังกฤษ: He Yi) เป็นนายทหารคนหนึ่งในกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง

หลังโจรโพกผ้าเหลืองถูกปราบปรามได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้ากลุ่มโจร ณ เมืองยีหลำ เป็นเวลาร่วมสิบปี ก่อความวุ่นวายสารพัด วันหนึ่งมีบุรุษหนุ่มชื่อ เคาทู บอกอาสามาจับกุมโจรกลุ่มนี้ โฮหงีได้ยินก็ควบม้าเข้ารบด้วยเคาทู ภายในไม่กี่เพลงก็ถูกเคาทูฟันตกม้าตาย


ขอขอบคุณ

รูปภาพเเละข้อมูลจากเกมส์ Romance of the three kingdom 12

โปไฉ


ช่วงอายุ : ???-184


โปไฉ (อังกฤษ: Bo Cai )  เป็นทหารเอกคนหนึ่งในของกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง

โปไฉได้นำทหารออกไปสู้กับทัพของจูฮี จูฮีเเกล้งเเพ้สู้ไม่ได้สั่งถอยทัพ โปไฉเมื่อเห็นจูฮีถอยทัพก็สั่งให้กองทัพของตนไล่ตามตี ไล่ตามไปจนถึงเมือง Chang She ฮองฮูสง ก็จุดไฟไฟลามไปทั่ว เกิดความวุ่นวายขึ้น ทางโปไฉหนีไม่พ้น ถูกไฟคลอกตาย ศึกครั้งนี้เป็นชัยชนะสำคัญของทัพหลวงที่นำโดย จูฮีกับฮองฮูสง


ขอขอบคุณ

รูปภาพเเละข้อมูลจากเกมส์ Romance of the three kingdom 12

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตันเตา หรือ เฉินเต้า


ช่วงอายุ : ???-???


ตันเตา หรือ เฉินเต้า (อังกฤษ: Chen Dao) ชื่อรอง ชูจื่อ เป็นนายทหารของเล่าปี่ มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ยุคสามก๊ก  แต่เชื่อหรือไม่ว่าเขาผู้นี้กลับไม่เคยมีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ไม่ว่าจะภาษาใด ใครเป็นผู้เขียน สื่อสามก๊กสมัยใหม่ที่มีปรากฎชื่อของตันเตา มีเพียงเกมสามก๊กในคอมพิวเตอร์ หรือการ์ดเกมเท่านั้น

ตันเตา เป็นชาวเมืองยีหลำเคย เข้าร่วมกับโจรโพกผ้าเหลือง หลังโจรโพกผ้าเหลืองเเตกพ่ายไป ได้รับราชการกับเล่าปี่ที่เมืองอิวจิ๋ว ในตำแหน่งองครักษ์ รองจากจูล่ง  ซึ่งเขามีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในด้านความจงรักภักดีและความกล้าหาญ ตันเตาเข้าร่วมทำศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง มีวีรกรรมสำคัญคือช่วยให้เล่าปี่รอดชีวิตจากศึกอิเหลง ที่เมืองไป๋ตี้เฉิง เมื่อขงเบ้งขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ เขาได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นแม่ทัพใหญ่ภายใต้สังกัดของลิเงียม ที่เมืองหยงอัน เพื่อป้องกันการรุกรานจากง่อก๊กของซุนกวน

 ในปี ค.ศ.223-226 ขงเบ้งเตรียมระดมสรรพกำลังเพื่อโจมตีวุยก๊ก ตันเตาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้รับการเลื่อนขั้น โดยเขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนพลผู้พิชิตทิศประจิม (General who Conquers the West) และขึ้นเป็นเจ้าเมืองหยงอัน แทนที่ของลิเงียม ที่โดนปลด

เรื่องของตันเตา จึงเป็นเรื่องน่าแปลก ที่หลอกวนจง ไม่ได้ใส่ชื่อของเขาไว้ให้โลดแล่นในวรรณกรรม เรื่องสามก๊กที่มีตัวละครเป็นพัน ๆ คน บางคนโผล่มาครั้งเดียวก็เลือนหาย แต่ตันเตา ผู้ที่ในบันทึกประวัติศาสตร์ มีผลงานเป็นรองเพียงจูล่งเท่านั้น กลับไม่มีชื่ออยู่ในวรรณกรรม และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้มีผู้สันนิษฐานเอาไว้ว่า หลอกวนจงเขียนนิยายโดยรวมเอาวีรกรรมและผลงานของทั้ง จูล่งกับตันเตา เข้าไปกลายเป็นคน ๆ เดียวกันภายใต้ชื่อของ จูล่ง 


ขอขอบคุณ
http://samkok911.blogspot.com/2012/12/Chen-Dao-Zhao-Zilong-Shadow.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the three kingdom 12

เลียวฮัว


ช่วงอายุ : ???-264



เลียวฮัว (อังกฤษLiao Hua) ชื่อรองเหยียนเจี้ยน เดิมเป็นโจรโพกผ้าเหลือง อยู่ที่เมืองซงหยงเมื่อถูกปราบปรามก็หนีมาอยู่ที่เขาใกล้เมืองฮูโต๋กับเพื่อนชื่อ เตาอวน และพวกพ้องประมาณห้าร้อยคน วันหนึ่งเตาอวนคุมพวกลงมาที่ตีนเขา ชิงเอาหญิงขึ้นไปได้สองคนจะแบ่งให้เป็นภรรยาเลียวฮัวคนหนึ่ง เลียวฮัวซักถามได้ความว่าเป็นภรรยาของเล่าปี่ หนีมาจากเมืองฮูโต๋กับกวนอู เลียวฮัวจึงบอกให้เพื่อนนำตัวนางทั้งสองไปคืน เตาอวนไม่ยอมเลียวฮัวจึงฆ่าเสีย แล้วตัดศรีษะเอาไปให้กวนอู และนำนางกำฮูหยินกับนางบิฮูหยินมาส่งคืน และขอสมัครเป็นพรรคพวกคุ้มกันไปจนพ้นแดนเมืองฮูโต๋ แต่กวนอูคิดรังเกียจว่าเป็นโจรจึงไม่ยอมรับ และว่า"ซึ่งได้ทำคุณครั้งนี้ขอบใจนัก ถ้าชีวิตมิตายภายหน้าจะได้แทนคุณ แต่ซึ่งจะคุมพวกเพื่อนไปส่งนั้น อย่าไปให้ลำบากเลย" เลียวฮัวจึงต้องอยู่ที่เดิมต่อไปก่อน

หลังจากนั้นเลียวฮัวก็ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนัก แต่บทบาทสำคัญของเลียวฮัวก็คือ การช่วยกวนอูรักษาเมืองเกงจิ๋วในปีคศ.219 กวนอูที่กำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบต้องหนีไปเมืองเป๊กเสียก็ขอคนที่ส่งจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากเล่าฮองและเบ้งตัด เลียวฮัวเป็นผู้ถือจดหมายไปให้ แต่เล่าฮองถูกเบ้งตัดยุยง จึงไม่ยอมยกพลมาช่วย เลียวฮัวก็เสียใจนัก ต้องรีบเดินทางไปหาเล่าปี่ที่เมืองเสฉวน ซึ่งอยู่ไกลมาก เลียวฮัวไปถึงเมืองเสฉวน เมื่อกวนอูเสียชีวิตไปแล้ว เล่าปี่ไม่มีทางที่จะช่วยเหลือ

หลังจากเล่าปี่ตายเลียวฮัวก็ได้รับราชการกับพระเจ้าเล่าเสี้ยนโอรสของพระเจ้าเล่าปี่ต่อไป และได้เป็นนายทหารเอกของขงเบ้ง จนกระทั่งขงเบ้งถึงแก่ความตาย จากนั้นก็เป็นแม่ทัพหน้าเมื่อเกียงอุยบุกวุยก๊กถึงแม้เลียวฮัวจะไม่มีฝีมือสูงส่งจนคนเล่าลือกันว่า "จ๊กก๊กไร้ขุนพล เลียวฮัวเป็นทัพหน้า" และเมื่อครั้งวุยก๊กยกทัพบุกจ๊กก๊ก เลียวฮัว เกียงอุย และเตียวเอ๊กช่วยกันรักษาด่านเกียมโก๊ะอย่างสุดชีวิตแต่ก็ไม่สำเร็จ จนจ๊กก๊กล่ม เลียวฮัวจึงล้มป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา นับว่าเป็นขุนศึกที่เจนสงครามมากคนนึง


ขอขอบคุณ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%A7
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pn2474&date=11-09-2007&group=9&gblog=7
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12

เลียวฮัว


ช่วงอายุ : ???-264



เลียวฮัว (อังกฤษLiao Hua) ชื่อรองเหยียนเจี้ยน เดิมเป็นโจรโพกผ้าเหลือง อยู่ที่เมืองซงหยงเมื่อถูกปราบปรามก็หนีมาอยู่ที่เขาใกล้เมืองฮูโต๋กับเพื่อนชื่อ เตาอวน และพวกพ้องประมาณห้าร้อยคน วันหนึ่งเตาอวนคุมพวกลงมาที่ตีนเขา ชิงเอาหญิงขึ้นไปได้สองคนจะแบ่งให้เป็นภรรยาเลียวฮัวคนหนึ่ง เลียวฮัวซักถามได้ความว่าเป็นภรรยาของเล่าปี่ หนีมาจากเมืองฮูโต๋กับกวนอู เลียวฮัวจึงบอกให้เพื่อนนำตัวนางทั้งสองไปคืน เตาอวนไม่ยอมเลียวฮัวจึงฆ่าเสีย แล้วตัดศรีษะเอาไปให้กวนอู และนำนางกำฮูหยินกับนางบิฮูหยินมาส่งคืน และขอสมัครเป็นพรรคพวกคุ้มกันไปจนพ้นแดนเมืองฮูโต๋ แต่กวนอูคิดรังเกียจว่าเป็นโจรจึงไม่ยอมรับ และว่า"ซึ่งได้ทำคุณครั้งนี้ขอบใจนัก ถ้าชีวิตมิตายภายหน้าจะได้แทนคุณ แต่ซึ่งจะคุมพวกเพื่อนไปส่งนั้น อย่าไปให้ลำบากเลย" เลียวฮัวจึงต้องอยู่ที่เดิมต่อไปก่อน

หลังจากนั้นเลียวฮัวก็ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนัก แต่บทบาทสำคัญของเลียวฮัวก็คือ การช่วยกวนอูรักษาเมืองเกงจิ๋วในปีคศ.219 กวนอูที่กำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบต้องหนีไปเมืองเป๊กเสียก็ขอคนที่ส่งจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากเล่าฮองและเบ้งตัด เลียวฮัวเป็นผู้ถือจดหมายไปให้ แต่เล่าฮองถูกเบ้งตัดยุยง จึงไม่ยอมยกพลมาช่วย เลียวฮัวก็เสียใจนัก ต้องรีบเดินทางไปหาเล่าปี่ที่เมืองเสฉวน ซึ่งอยู่ไกลมาก เลียวฮัวไปถึงเมืองเสฉวน เมื่อกวนอูเสียชีวิตไปแล้ว เล่าปี่ไม่มีทางที่จะช่วยเหลือ

หลังจากเล่าปี่ตายเลียวฮัวก็ได้รับราชการกับพระเจ้าเล่าเสี้ยนโอรสของพระเจ้าเล่าปี่ต่อไป และได้เป็นนายทหารเอกของขงเบ้ง จนกระทั่งขงเบ้งถึงแก่ความตาย จากนั้นก็เป็นแม่ทัพหน้าเมื่อเกียงอุยบุกวุยก๊กถึงแม้เลียวฮัวจะไม่มีฝีมือสูงส่งจนคนเล่าลือกันว่า "จ๊กก๊กไร้ขุนพล เลียวฮัวเป็นทัพหน้า" และเมื่อครั้งวุยก๊กยกทัพบุกจ๊กก๊ก เลียวฮัว เกียงอุย และเตียวเอ๊กช่วยกันรักษาด่านเกียมโก๊ะอย่างสุดชีวิตแต่ก็ไม่สำเร็จ จนจ๊กก๊กล่ม เลียวฮัวจึงล้มป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา นับว่าเป็นขุนศึกที่เจนสงครามมากคนนึง


ขอขอบคุณ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%A7
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pn2474&date=11-09-2007&group=9&gblog=7
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12

เตียวเหลียง


ช่วงอายุ : ???-184


เตียวเหลียง (อังกฤษZhang Liang) เป็นน้องชายคนสุดท้องของเตียวก๊ก ได้รับการแต่งตั้งจากพี่ชายให้เป็นเจ้าพระยามนุษย์ 

หลังจากเตียวก๊กเมื่อจัดกองทัพห้าสิบหมื่นพร้อมแล้วก็ประกาศสงครามกู้ชาติ เพื่อปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มเหงรังแก และปล้นชิงวิ่งราวของขุนนางและข้าราชการ ให้เคลื่อนทัพเข้าโจมตีและยึดหัวเมืองทั้งแปด ซึ่งราษฎรนับถืออยู่แต่ก่อนแล้ว

จากนั้นจึงเคลื่อนพลเข้าโจมตีหัวเมืองอื่นๆอีกหลายหัวเมือง เตียวโป้และเตียวเหลียงยกไปตีเมืองเองฉวน ภายในเมืองได้ตั้งรับอย่างแข็งขัน เตียวโป้และเตียวเหลียงยึดเมืองไม่ได้ก็ตั้งค่ายรายล้อมเมืองไว้

ฝ่ายกองทัพจากเมืองหลวงที่บัญชาการโดยแม่ทัพโลติดมีฮองฮูสงและจูฮีเป็นแม่ทัพรองและแม่ทัพหนุน พอทราบข่าวการสนับสนุนกำลังเพิ่มเติมจึงได้เคลื่อนกองทัพยกไปเป็นสามด้านพร้อมกัน มุ่งเข้าตีจุดยุทธศาสตร์คือเมืองจงก๋งและเมืองเองฉวนเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบให้ได้เสียก่อน

ฝ่ายทัพเตียวโป้และเตียวเหลียงซึ่งตั้งยันอยู่กับทัพของฮองฮูสงและจูฮีนั้น ปะทะกันหลายครั้งยังไม่แพ้ชนะกัน ดังนั้นเตียวโป้และเตียวเหลียงจึงวางแผนเผด็จศึกด้วยวิธีการผูกพยนต์ ใช้วิทยาคมที่เตียวก๊กได้ร่ำเรียนมาจากตำราของเทพยดา เตรียมปลุกเสกหุ่นฟางให้เป็นทหารเพื่อรบกับฮองฮูสงและจูฮี

 แต่ในขณะที่เตียวโป้ เตียวเหลียงเตรียมฟางไว้เป็นจำนวนมากเพื่อผูกเป็นหุ่นนั้น ข่าวทราบถึงฮองฮูสงและจูฮี ที่ถึงแม้จะไม่รู้ความนัยว่ากองทัพโจรโพกผ้าเหลืองเตรียมฟางไว้จำนวนมากเพื่อการใด แต่เห็นช่องทางที่จะทำลายกองทัพโจรเสียด้วยเพลิง

ในคืนนั้นเพลาสองยามเกิดลมพายุใหญ่พัดหนัก ฮองฮูสงและจูฮีจึงให้ทหารเข้าปล้นค่ายเตียวโป้ เตียวเหลียงพร้อมกัน ใช้เพลิงเผาค่ายโจรโพกผ้าเหลืองจนแสงเพลิงโชติช่วงสว่างดุจกลางวัน ทหารเตียวโป้ เตียวเหลียงไม่ทันรู้ตัวว่าถูกโจมตีก็ตกใจไม่ทันใส่เกราะผูกอานม้าก็แตกกระจายหนีเพลิงกันวุ่นวาย ทหารของฮองฮูสงและจูฮีจึงได้ไล่ฟันแทงพวกโจรล้มตายเป็นอันมาก

เตียวโป้ เตียวเหลียงนำทหารที่แตกทัพรุดหนีไปทั้งคืน จนรุ่งเช้าก็ปะทะเข้ากับกองทหารซึ่งใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ทั้งกองทัพ นั่นคือกองทัพของโจโฉซึ่งเป็นกองทัพเสริมมาจากเมืองหลวง และเคลื่อนมาทางเมืองเองฉวนเพื่อสมทบกับทัพของฮองฮูสงและจูฮี

โจโฉเห็นโจรโพกผ้าเหลืองแตกทัพมาก็สั่งทหารให้เข้าตีสกัดไว้ สังหารทหารเตียวโป้ เตียวเหลียงเสียหมื่นเศษได้ม้าและศาตราวุธเป็นจำนวนมาก แต่เตียวโป้  เตียวเหลียงนั้นนำทหารที่เหลือหนีไปได้

โจโฉนำชัยชนะจากการตีทัพเตียวโป้เตียวเหลียงซึ่งแตกทัพไปจากเมืองเองฉวนเข้ารายงานให้ฮองฮูสงและจูฮีทราบ แล้วขอนำทหารยกตามไปตีเตียวโป้  เตียวเหลียงต่อไป

เล่าปี่มาพบฮองฮูสงเเละจูฮี แล้วฮองฮูสงว่า "เตียวโป้ เตียวเหลียงแตกไปครั้งนี้การศึกเห็นจะเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว เพราะคาดหมายว่าเมื่อแตกหนีไปแล้วเตียวโป้ เตียวเหลียงจะยกทหารไปสมทบกับเตียวก๊กที่เมืองจงก๋ง จึงให้เล่าปี่ยกทหารรีบตามไปสกัดไม่ให้เตียวโป้ เตียวเหลียงไปบรรจบทัพกับเตียวก๊กได้สำเร็จ ฝ่ายเมืองหลวงก็จะได้ชัยชนะโดยเด็ดขาด"

เล่าปี่รับคำสั่งของรองแม่ทัพฮองฮูสงแล้ว จึงยกทหารเดินทางกลับเมืองจงก๋งเพื่อบรรลุเข็มมุ่งทางทหารในการตีสกัด ไม่ให้ทัพเตียวโป้เตียวเหลียงบรรจบทัพกับเตียวก๊กได้สำเร็จ

โลติดเเม่ทัพใหญ่จากเมืองหลวงคุมพลห้าหมื่นยกไปล้อมเมืองจงก๋งซึ่งเตียวก๊กได้ยึดไว้ ถูกตีเมืองจนใกล้เเตก เเต่โลติดถูกให้ร้ายกลายเป็นนักโทษ ตั๋งโต๊ะจึงมาเเทนตำเเหน่งเเม่ทัพใหญ่

เตียวก๊กได้ตีตั๋งโต๋ะเเตกพ่ายขณะไล่ตามเจอทัพเล่าปี่จึงถอยกลับกลัวว่าจะเป็นกองซุ่ม ฝ่ายตั๋งโต๊ะเมื่อรอดตาย เพราะรบแพ้เตียวก๊กแล้ว ได้ทำศึกกับเตียวก๊กอีกหลายครั้ง รบทุกครั้งก็แพ้ทุกครั้ง เกิดความรักตัวกลัวตาย ไม่อยากรบพุ่งต่อไป จึงติดสินบนสิบขันที ให้พระเจ้าเลนเต้เรียกตัวกลับเมืองหลวง

เมื่อเรียกตั๋งโต๊ะกลับแล้ว พระเจ้าเลนเต้ก็มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนตำแหน่งฮองฮูสงเป็นแม่ทัพใหญ่แทนโลติด และรับสั่งให้ยกไปรบเตียวก๊ก ณ เมือง จงก๋ง ฮองฮูสงตีทัพเตียวก๊กแตกและสังหารเตียวก๊กในสนามรบส่วนโจโฉซึ่งไล่ตามตีเตียวโป้ เตียวเหลียงไม่ทัน จึงได้กลับมาและทำราชการอยู่กับฮองฮูสง ต่อมาเมื่อได้ข่าวว่าเตียวเหลียงหนีไปตั้งหลักอยู่ ณ เมืองโฉเหียง ฮองฮูสงจึงยกทหารไปเมืองโฉเหียง โจโฉจึงติดตามกองทัพไปด้วย

ฮองฮูสงเป็นแม่ทัพใหญ่ มีโจโฉอยู่ในสังกัดยกไปรบกับเตียวเหลียง ณ เมืองโฉเหียง กองทัพของฮองฮูสงรบกับเตียวเหลียงได้รับชัยชนะติดต่อกันถึง 7 ครั้ง ครั้งหลังสุดฮองฮูสงฟันเตียวเหลียงตาย ทัพเตียวเหลียงแตกพ่ายไป ทหารเตียวเหลียงมาเข้าสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก



ขอขอบคุณ 


บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ

http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/58--7-1.html
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/59--8-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

เตียวโป้


ช่วงอายุ : ???-184


เตียวโป้(อังกฤษZhang Bao) เป็นน้องชายคนรองของเตียวก๊ก ได้รับการแต่งตั้งจากพี่ชายให้เป็นเจ้าพระยาแผ่นดิน 

หลังจากเตียวก๊กเมื่อจัดกองทัพห้าสิบหมื่นพร้อมแล้วก็ประกาศสงครามกู้ชาติ เพื่อปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มเหงรังแก และปล้นชิงวิ่งราวของขุนนางและข้าราชการ ให้เคลื่อนทัพเข้าโจมตีและยึดหัวเมืองทั้งแปด ซึ่งราษฎรนับถืออยู่แต่ก่อนแล้ว

จากนั้นจึงเคลื่อนพลเข้าโจมตีหัวเมืองอื่นๆอีกหลายหัวเมือง เตียวโป้และเตียวเหลียงยกไปตีเมืองเองฉวน ภายในเมืองได้ตั้งรับอย่างแข็งขัน เตียวโป้และเตียวเหลียงยึดเมืองไม่ได้ก็ตั้งค่ายรายล้อมเมืองไว้

ฝ่ายกองทัพจากเมืองหลวงที่บัญชาการโดยแม่ทัพโลติดมีฮองฮูสงและจูฮีเป็นแม่ทัพรองและแม่ทัพหนุน พอทราบข่าวการสนับสนุนกำลังเพิ่มเติมจึงได้เคลื่อนกองทัพยกไปเป็นสามด้านพร้อมกัน มุ่งเข้าตีจุดยุทธศาสตร์คือเมืองจงก๋งและเมืองเองฉวนเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบให้ได้เสียก่อน

ฝ่ายทัพเตียวโป้และเตียวเหลียงซึ่งตั้งยันอยู่กับทัพของฮองฮูสงและจูฮีนั้น ปะทะกันหลายครั้งยังไม่แพ้ชนะกัน ดังนั้นเตียวโป้และเตียวเหลียงจึงวางแผนเผด็จศึกด้วยวิธีการผูกพยนต์ ใช้วิทยาคมที่เตียวก๊กได้ร่ำเรียนมาจากตำราของเทพยดา เตรียมปลุกเสกหุ่นฟางให้เป็นทหารเพื่อรบกับฮองฮูสงและจูฮี


 แต่ในขณะที่เตียวโป้ เตียวเหลียงเตรียมฟางไว้เป็นจำนวนมากเพื่อผูกเป็นหุ่นนั้น ข่าวทราบถึงฮองฮูสงและจูฮี ที่ถึงแม้จะไม่รู้ความนัยว่ากองทัพโจรโพกผ้าเหลืองเตรียมฟางไว้จำนวนมากเพื่อการใด แต่เห็นช่องทางที่จะทำลายกองทัพโจรเสียด้วยเพลิง

ในคืนนั้นเพลาสองยามเกิดลมพายุใหญ่พัดหนัก ฮองฮูสงและจูฮีจึงให้ทหารเข้าปล้นค่ายเตียวโป้ เตียวเหลียงพร้อมกัน ใช้เพลิงเผาค่ายโจรโพกผ้าเหลืองจนแสงเพลิงโชติช่วงสว่างดุจกลางวัน ทหารเตียวโป้ เตียวเหลียงไม่ทันรู้ตัวว่าถูกโจมตีก็ตกใจไม่ทันใส่เกราะผูกอานม้าก็แตกกระจายหนีเพลิงกันวุ่นวาย ทหารของฮองฮูสงและจูฮีจึงได้ไล่ฟันแทงพวกโจรล้มตายเป็นอันมาก

เตียวโป้ เตียวเหลียงนำทหารที่แตกทัพรุดหนีไปทั้งคืน จนรุ่งเช้าก็ปะทะเข้ากับกองทหารซึ่งใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ทั้งกองทัพ นั่นคือกองทัพของโจโฉซึ่งเป็นกองทัพเสริมมาจากเมืองหลวง และเคลื่อนมาทางเมืองเองฉวนเพื่อสมทบกับทัพของฮองฮูสงและจูฮี

โจโฉเห็นโจรโพกผ้าเหลืองแตกทัพมาก็สั่งทหารให้เข้าตีสกัดไว้ สังหารทหารเตียวโป้ เตียวเหลียงเสียหมื่นเศษได้ม้าและศาตราวุธเป็นจำนวนมาก แต่เตียวโป้  เตียวเหลียงนั้นนำทหารที่เหลือหนีไปได้


โจโฉนำชัยชนะจากการตีทัพเตียวโป้เตียวเหลียงซึ่งแตกทัพไปจากเมืองเองฉวนเข้ารายงานให้ฮองฮูสงและจูฮีทราบ แล้วขอนำทหารยกตามไปตีเตียวโป้  เตียวเหลียงต่อไป

เล่าปี่มาพบฮองฮูสงเเละจูฮี แล้วฮองฮูสงว่า "เตียวโป้ เตียวเหลียงแตกไปครั้งนี้การศึกเห็นจะเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว เพราะคาดหมายว่าเมื่อแตกหนีไปแล้วเตียวโป้ เตียวเหลียงจะยกทหารไปสมทบกับเตียวก๊กที่เมืองจงก๋ง จึงให้เล่าปี่ยกทหารรีบตามไปสกัดไม่ให้เตียวโป้ เตียวเหลียงไปบรรจบทัพกับเตียวก๊กได้สำเร็จ ฝ่ายเมืองหลวงก็จะได้ชัยชนะโดยเด็ดขาด"

เล่าปี่รับคำสั่งของรองแม่ทัพฮองฮูสงแล้ว จึงยกทหารเดินทางกลับเมืองจงก๋งเพื่อบรรลุเข็มมุ่งทางทหารในการตีสกัด ไม่ให้ทัพเตียวโป้เตียวเหลียงบรรจบทัพกับเตียวก๊กได้สำเร็จ

เล่าปี่ช่วยตั๋งโต๊ะไว้เเล้วไปอาศัยกับจูฮี จูฮีกับเล่าปี่ได้ข่าวว่าเตียวโป้ถอยไปตั้งหลักอยู่ที่ภูเขาลูกหนึ่ง มีกำลังทหารถึงแปดเก้าหมื่นคน จึงยกทัพจะไปรบกับเตียวโป้ จูฮี เล่าปี่ ได้ทำศึกกับเตียวโป้หลายครั้ง ครั้งแรกเตียวหุยเอาทวนแทงโกเสงทหารเตียวโป้ตกม้าตายยังไม่ทันครบสามเพลง กองทัพเตียวโป้ก็แตกถอยไป เล่าปี่ไล่ตามตี เตียวโป้จนตรอกเข้าก็ใช้วิชาผูกพยนต์เสกฟางให้เป็นทหาร  แล้วเรียกลมฝน “ให้เป็นเมฆมืดอากาศฟ้าร้อง ลมพายุพัดหนักฝนตก แล้วมีคนขี่ม้าถืออาวุธลงมาแต่อากาศ” ทหารเล่าปี่ก็ตกใจ เล่าปี่จึงให้ถอยทัพแล้วปรึกษากับจูฮี เพื่อแก้วิทยาคมของเตียวโป้

รุ่งขึ้นเตียวโป้ยกทหารมารบอีก และใช้วิทยาคมเหมือนกับวันก่อน  “เป็นเมฆมืดฟ้าร้องลมพัดหนักฝนตก เป็นคนขี่ม้าถืออาวุธลงมาจากอากาศเป็นอันมาก”  เล่าปี่จึงทำเป็นถอยทัพมายังจุดซุ่มที่เตรียมไว้แก้วิทยาคมของเตียวโป้ เตียวโป้และทหารหุ่นพยนต์ไล่ตามเล่าปี่มาถึงจุดซุ่ม ก็ถูกกวนอู เตียวหุยซึ่งซุ่มทหารไว้สองข้างทาง เอาของโสโครกและโลหิตสุกรสุนัขนั้นสาดไปถูกพวกโจร แลคนขี่ม้าซึ่งลงมาแต่อากาศนั้นก็กลายเป็นกระดาษ ม้านั้นก็กลายเป็นมัดหญ้าไป เมฆแลฝนลมนั้นก็หายสว่างไป” เตียวโป้เห็นวิทยาคมถูกทำลายก็ถอยทัพ 

จูฮี เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ได้ทีจึงไล่ตามตีทัพเตียวโป้แตกพ่ายไป ตัวเตียวโป้ถูกเล่าปี่เอาเกาทัณฑ์ยิงไปถูกไหล่ซ้าย แต่เตียวโป้ก็หนีรอดเข้าเมืองเยียงเซียไปได้ 

จูฮี เล่าปี่ ได้ยกทหารเข้าล้อมเมืองเยียงเซียไว้ ทำให้ในเมืองขาดเสบียงและยากลำบาก  ลำแจ้งทหารของเตียวโป้และสมุน จึงแปรพักตร์หักหลังเจ้านายของตนเองลอบสังหารเตียวโป้ แล้วตัดศีรษะออกมาให้เล่าปี่ จูฮีที่นอกเมือง และขอทำราชการด้วย


ขอขอบคุณ 

บางช่วงบางตอนจาก สามก๊กฉบับคนขายชาติ
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/58--7-1.html
http://www.paisalvision.com/2008-10-30-11-41-42/59--8-.html
ภาพจากเกมส์ Romance of the kingdom 12